เช็คกันสักนิดก่อนที่จะเปิด ร้านขายอาหารสัตว์ เพื่อให้ธุรกิจไปรอด

โดยหนึ่งในตัวที่ทำให้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงโต ก็คือ กลุ่มของอาหารสัตว์เลี้ยง ที่มองว่าเป็นสินค้าเชิง Emotional ที่ผู้คนยอมจ่ายให้สัตว์เลี้ยง เพราะในยุคสมัยนี้คนเลี้ยงน้องหมา แมว ก็เลี้ยงเหมือนลูก เหมือนคนในครอบครัว ก็ต้องเลี้ยงให้ดีที่สุด ให้อาหารเหมาะกับช่วงวัย และต้องมีสารอาหารครบถ้วน ซึ่งก็ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตสูงที่สุดในบรรดา ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

ร้านขายอาหารสัตว์ หรือ (Pet Shop) คือธุรกิจยอดนิยมที่ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหนก็ขายดีมีรายได้เสมอ แต่บอกเลยว่าหากคิดจะเปิดร้านขายอาหารสัตว์ทั้งที ก็ต้องทำการบ้านกันสักหน่อยถึงจะประสบความสำเร็จได้ และเหนือสิ่งอื่นใจเลย จะต้องมีใจรักในธุรกิจนี้จริง ๆ เพราะนี่คือหัวใจสำคัญในการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Pet Shop แต่ก่อนที่จะเปิด ร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยง ควรต้องเช็กลิสต์ก่อนว่า คุณเองมีคุณสมบัติและทรัพยากรเหมาะสมที่จะเปิดร้านหรือไม่ หากต้องการทราบว่าควรเช็กอะไรบ้าง ตามมาดู กันค่ะ

1. เช็กข่าวสารก่อนเปิด
ก่อนที่จะเปิด ร้านขายอาหารสัตว์ เราต้องเช็กข่าวสารก่อนว่าแนวโน้มของการเปิดร้านประเภทนี้ มีโอกาสที่จะเติบโตมากแค่ไหน เปิดไปแล้วจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเรื่อย ๆ ได้หรือไม่

2. เช็กงบประมาณการลงทุน
คำถามของคนเริ่มต้นธุรกิจที่สงสัยกันมากที่สุดนั่นก็คือ เปิดร้าน Pet shop ลงทุนเท่าไหร่เราจะนำคำตอบมาให้เราที่ทราบนะคะ
ราคาการเช่าพื้นที่
ถ้าคุณมีพื้นที่เป็นของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องนี้ก็ไม่น่ายากเกินไปที่จะเปิดร้านเลยค่ะ แต่ถ้าหากคุณต้องเช่าตึกพาณิชย์หรือเช่าพื้นที่ขายของ 1 ล็อก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับทำเลด้วยนะ

ราคาการซื้อของสต็อก
การซื้อของสต็อกในร้าน ควรซื้อเยอะ ๆ ไว้ก่อน สต็อกของให้เยอะที่สุด เพื่อที่ร้านของคุณจะได้มีสินค้าครบครันตอบโจทย์ลูกค้า ราคาซื้อสินค้าจะอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 150,000 บาท

ราคาชั้นวางสินค้า/อุปกรณ์เปิดร้าน
ก่อนจะเปิดร้าน แน่นอนว่าทุกร้านต้องซื้อชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เปิดร้านก่อน ผู้เขียนเช็กมาให้แล้วค่ะ ราคาชั้นวางสินค้า+เคาน์เตอร์แบบครบเซต อยู่ที่ประมาณ 40,000 – 100,000+ บาท

3. เช็กข้อดีและข้อด้อย
ถ้าถามว่า เปิด ร้านขายอาหารสัตว์ ดีไหม เราจะลองลิสต์ข้อดีและข้อด้อยของการเปิดร้านประเภทนี้ขึ้นมาให้ดูกันว่าหากคุณเปิดแล้วจะมีจุดไหนควรพิจารณาบ้าง
ข้อดี เช่น
– มีความอิสระในการเลือกผลิตภัณฑ์และคัดสรรเข้ามาขายได้เอง
– ได้เป็นคนกำหนดเองทั้งหมดว่าจะเอางบไปจัดสรรไว้ตรงไหนบ้าง
– เมื่อเป็นธุรกิจของตัวเอง คุณมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการเสนอบริการลูกค้าในแบบที่คุณต้องการ
– บางคนอาจจะเคยมีหัวหน้าในการกำหนดทุกอย่างในการทำงาน แต่เมื่อเปิดร้านเอง คุณจะไม่ถูกจำกัดกรอบจากคนอื่น
– สินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าจำเป็นต้องซื้ออยู่เป็นประจำ คุณจึงจะสามารถขายได้เรื่อย ๆ
– สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยาวนาน ปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย ไม่มีตกเทรนด์

ข้อด้อย เช่น
– ค่าใช้จ่ายในการลงทุน การเปิดธุรกิจแบบนี้จะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก เพราะถ้าคุณอยากที่จะเปิดธุรกิจในขนาดเล็กที่ต้องเริ่มต้นกับค่าใช้จ่ายจำนวนน้อย ๆ มันอาจจะไม่เพียงพอกับการเปิดร้านขายอาหารสัตว์ แต่ถ้าคุณต้องการที่จะเปิดร้านแบบนี้จริง ๆ ก็มีช่องทางมากมายในการจัดหาเงินทุนสำหรับธุรกิจของคุณในสินเชื่อธนาคาร อีกอย่างต้องคำนวนรายรับ รายจ่ายให้ดีว่าเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
– กำไร สำหรับอาหารสัตว์นั้น บริษัทจะให้กำไรอยู่ที่ 5-10% เพราะถ้าอยากให้มีกำไรที่สูงกว่านี้จะขายยาก เพราะจะเป็นราคาที่ค่อนข้างแพงสำหรับลูกค้า
– ขอบเขตของร้าน ถ้า เปิดร้านขายอาหารสัตว์ แล้วคุณตั้งใจแค่จะขายอาหารสัตว์อย่างเดียว มันคงยากที่จะเรียกลูกค้าจำนวนมากให้เข้ามาในร้านได้ สิ่งที่อยากแนะนำคือ คุณควรศึกษาเรื่อง ร้านขายอุปกรณ์สัตว์ยาสำหรับรักษาสัตว์ ให้คำปรึกษาด้านการดูแล การผสมหรือเพาะพันธุ์ รวมถึงศึกษาเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อที่จะได้ต่อยอดธุรกิจของคุณให้ไม่ขาดทุน แต่ยังเติบโตไปได้ในอนาคต

4. เช็กคู่แข่งรอบข้าง
คู่แข่งของคุณ มีแหล่งอื่นอีกมากมายที่ลูกค้าจะสามารถซื้ออาหารสัตว์และบริการต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ร้านขายอาหารสัตว์ เจ้าอื่น เช็กให้ชัวร์ว่าทำเลที่ตั้งมีคู่แข่งที่เป็นร้านเพ็ทช็อปอื่น ๆ อยู่ใกล้กันหรือเปล่า หากชุมชนของคุณไม่มีร้านขายอาหารสัตว์เจ้าอื่นเลยมันก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีในการเปิดร้านบริเวณนั้น

5. เช็กความแตกต่างของร้าน
การที่คุณจะเปิด ร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยง ถ้าหากเปิดให้เหมือนกับร้านทั่วไปที่เขาเปิดกันมา แน่นอนว่ามันไม่มีอะไรที่โดดเด่นให้ดึงดูดใจ ลูกค้าอาจจะคิดว่า “ซื้อร้านไหน ๆ ก็เหมือนกัน” หากคุณไม่มีอะไรที่มันแตกต่างจากคนอื่น ดังนั้นก็เป็นไปได้ยากที่เปิดแล้วยอดขายจะเป็นไปตามเป้า
– การนำผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้าน Pet Shop ขนาดใหญ่
– หาอะไรที่มาขายแล้วมันไม่เหมือนร้านขายอาหารสัตว์ทั่ว ๆ ไป
– หาบริการใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ลูกค้าและร้านอื่นไม่ทำ